เมนู

4. ธรรมที่ไม่ใช่อรูปาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่อรูปา-
วจรธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ จุติจิตที่ไม่ใช่อรูปาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่ใช่
อรูปาวจรธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อรูปาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็น
อรูปาวจรธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
บริกรรมแห่งอากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่อากาสานัญจายตนะ
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
บริกรรมแห่งวิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ บริกรรมแห่งอากิญจัญญายตนะ
ฯลฯ บริกรรมแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญา-
ยตนะ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

มี 4 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย มี 5 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 2 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 7 วาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[801] 1. อรูปาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่อรูปาวจรธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย, วิญญาณัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่อากิญจัญญายตนะ, อากิญ-
จัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสย
ปัจจัย.
2. รูปาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อรูปา-
วจรธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอรูปาวจรธรรม แล้วให้ทาน ฯลฯ ศีล
ฯลฯ อุโบสถกรรม ยังฌานที่ไม่ใช่อรูปาวจรธรรม ยังวิปัสสนา ยังมรรค
ยังอภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ที่เป็นอรูปาวจรธรรม ฯลฯ ปัญญา แล้วให้
ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
ศรัทธาที่เป็นอรูปาวจรธรรม ฯลฯ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่
ไม่ใช่อรูปาวจรธรรม ฯลฯ แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่ความปรารถนา แก่สุข
ทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-
ปัจจัย.
3. ธรรมที่ไม่ใช่อรูปาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่อรูปาวจรธรรม ด้วยอำนาจของของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา ที่ไม่ใช่อรูปาวจรธรรมแล้ว ให้ทาน ศีล
ฯลฯ อุโบสถกรรม ยังฌานที่ไม่ใช่อรูปาวจรธรรม ยังวิปัสสนา ยังมรรค
ยังอภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่ไม่ใช่อรูปาวจรธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ
ความปรารถนา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ
แล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธาที่ไม่ใช่อรูปาวจรธรรม ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา
ที่ไม่ใช่อรูปาวจรธรรม แก่ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย
แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่อรูปาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่อรูปา-
วจรธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บริกรรมแห่งอากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่อากาสานัญจายตนะ
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ บริกรรมแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ
เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[802] 1. ธรรมที่ไม่ใช่อรูปาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่อรูปาวจรธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
พิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทย-
วัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อรูปาวจรธรรม ด้วยอำนาจของปุเร-
ชาตปัจจัย.
2. ธรรมที่ไม่ใช่อรูปาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่อรูปา-
วจรธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอรูปาวจรธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย.